วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้วันพฤหัสบดี ที่ 28 เมษายน 2559 (เรียนชดเชย)

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

Knowledge : ความรู้ที่ได้รับ

*** โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล

แผน IEP  คือ
  •  แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้
เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเรา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อต่อการเรียนรู้

ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

 การเขียนแผน IEP 

1. คัดแยกเด็กพิเศษ

2. ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร

3. ประเมินพัฒนากการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน

    ในทักษะใด

4. เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้

5. แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

1. ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก

2. ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง

3. การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน

4. เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น

5. ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน

6. วิธีการประเมิน



-  ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน

-  ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน

-  ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

-  ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉย ๆ


- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถ และความต้องการของเด็ก

- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก

- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป

- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก

- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ


- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้พัฒนา

   ความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ

- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร

- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่าง

  บ้านกับโรงเรียน

การจัดทำ IEP



ตัวอย่างแผน IEP


กิจกรรมวันนี้

ให้นักศึกษาวาดรูประบายสีวงกลมตามใจชอบจากจุดเล็ก ไปใหญ่




จากนั้นให้นำไปติดที่ต้นไม้ตามความชอบ



สรุปกิจกรรมการวาดวงกลม คือ การทายนิสัยจากการใช้สีในการระบาย



  "ปิดคลอส"

แจกรางวัลเด็กดี

Apply : การนำไปใช้

- สามารถนำแผน IEP ไปใช้ในอนาคต ตามที่อาจารย์สอน

- สามารถนำกิจกรรมไปใช้ในการเรียนการสอนได้

- สามารถนำกิจกรรมเด็กดีไปใช้ในอนาคตได้เช่นกัน เพื่อให้คนทำดีมีกำลังใจต่อไป

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์แต่งกายสุภาพ ให้ความรู้อย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย


บันทึกการเรียนรู้วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8 


**** ขาดเรียน****

บันทึกการเรียนวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

Knowledge : ความรู้ที่ได้รับ

***  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการจัดการศึกษา
  • การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
ความหมายการศึกษาแบบเรียนร่วม

1. การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป

2. มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน

3. ใช้เวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน

4. ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

1. การศึกษาสำหรับทุกคน

2. รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา

3. จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

ปรัชญาการอยู่รวมกัน

Wilson , 2007

- การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก

- การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

- กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบครอบ

เพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้

- เป็นการกำหนดทางเลือกหลาย ๆ ทาง


สิ่งที่ครูไม่ควรทำ

1. ครูไม่ควรวินิจฉัย

2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

สิ่งที่ครูควรทำ

1. ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่าง ๆ 

2. ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย

3. สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

4. จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วง ๆ 

กิจกรรมวันนี้

ให้นักศึกษาวาดรูปดอกบัวที่เห็นในภาพให้ละเอียดที่สุด พร้อมเขียนคำบรรยาย


สรุปของกิจกรรมการวาดดอกบัว คือ เป็นการสื่อให้เห็นว่าเรามองเด็กอย่างไร ?

Apply : การนำไปใช้

- สามารถนำกิจกรรมวันนี้ย้อนกลับมามองตัวเองว่าเราสามารถมองเด็กพิเศษให้เหมือนเด็ก

   ปกติได้หรือยัง

- ทำให้รู้ว่าการเรียนรวม กับการเรียนร่วมแตกต่างกันอย่างไร

Evaluation : การประเมิน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา ให้ความรู้อย่างเต็มที่ และมีกิจกรรมให้ทำ

การประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือกันในห้องดี

การประเมินตนเอง

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและให้ความร่วมมือทำกิจกรรมในห้องเป็นอย่างดี



วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนวันศุกร์ ที่ 11 มีนาคม 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

Knowledge : ความรู้

** เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์




การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

- ด้านความประพฤติ

- ด้านความตั้งใจและสมาธิ

- สมาธิสั้น

- การถอนตัวหรือล้มเลิก

- ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย

 เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก

-  เด็กสมาธิสั้น

-  เด็กออทิสติก หรือออทิสซึ่ม

เด็กสมาธิสั้น  ADHD


มารู้จักเด็กสมาธิสั้นกันเถอะ




อาการ


-  Inattentiveness                                     -  ขาดสมาธิ

-  Hyperactivity                                       -  อยู่ไม่นิ่ง

-  Impulsiveness                                      -  หุนหันพันแล่น

สาเหตุ

- ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง

- ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ  และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า

- พันธุกรรม

- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ยาที่รักษาโรคสมาธิสั้นมี 2 กลุ่มหลัก ๆ



-  Methylphenidate

-  Atomoxetine

** เด็กพิการซ้อน




-  เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก

-  เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน

-  เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด

-  เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

Apply : การนำไปใช้

-  สามารถทำให้เราเข้าใจเด็กในแต่ละกลุ่มอาการมากขึ้น และหาวิธีการแก้ไข

ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของเด็ก

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน 

อาจารย์แต่งกายสุภาพ ให้ความรู้อย่างเข้าใจและสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์





บันทึกการเรียนรู้วันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


Knowledge : ความรู้

** เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือ L D.

สาเหตุของ LD

- ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้

(เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)

-  กรรมพันธุ์

-  บ้างคนอาจอ่านออกแต่เขียนไม่ได้

เด็ก LD มีทั้งหมด 4 ด้าน

1. ด้านการอ่าน

2. ด้านการเขียน

3. ด้านการคิดคำนวณ

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน

** ออทิสติก


มารู้จักเด็กออทิสติกกันเถอะ



  อาการ : ไม่สบตา  ไม่พาที  ไม่ชี้นิ้ว

ลักษณะของเด็กออทิสติก

-  อยู่ในโลกของตนเอง

-  ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ

-  ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน

-  ไม่ยอมพูด

-  เคลื่อนไหวแบบซ้ำ ๆ

Autistic Savant  คือ  ออทิสติกอัจฉริยะ

-  กลุ่มที่คิดด้วยภาพจะใช้การการคิดแบบอุปนัย

-  กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพจะใช้การคิดแบบนิรนัย

                           คนที่เป็น Autistic Savant



Apply : การนำไปใช้

- สามารถนำไปศึกษาทดลองและนำไปสังเกตกลุ่มอาการของเด็กในห้องที่เราต้องสอน

ในอนาคต จะทำให้เราเข้าใจเด็กมากยิ่งขึ้น

Evaluation : การประเมิน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

เข้าสอนตรงเวลา อธิบายรายละเอียดแต่ละอาการอย่างชัดเจน

การประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนดี

การประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน


บันทึกการเรียนวันพุธ ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4 

knowledge : ความรู้

**  เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา

บกพร่องทางการพูด  หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจน

ในการปรับปรุงแต่งระดับ  และคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง

2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด

3. ความบกพร่องของเสียงพูด

บกพร่องทางภาษา  หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด หรือไม่สามารถ

แสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้

1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย

2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไป

   เรียกว่า Dysphasia และ aphasia

** เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ




โรคลมชัก

- การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal) ไม่อันตรายโตมาจะหายเอง

- การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)

- อาการชักแบบคนเมา (Partial Complex)

- อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)

- ลมบ้าหมู (Grand Mal)


ซี.พี.




1. กลุ่มแข็งเกร็ง

  - spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก

  - spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน

  - spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง

  - spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว



2. กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง

    - athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็ว ๆ ที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้า

    - ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

3. กลุ่มอาการแบบผสม

    - กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)

    - โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)

    - โปลิโอ (Poliomyelitis)

    - แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)

Apply :  การนำไปใช้

-  รู้ถึงลักษณะกลุ่มอาการชักต่าง ๆ

-  นำวิธีการปฐมพยาบาลคนชักเบื้องต้น

- การบกพร่องทางภาษาและบกพร่องทางการพูดมีหลายแบบ

 Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

มีการเตรียมตัวในการสอน  มียกตัวอย่างในการอธิบายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น


ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

ให้ความร่วมมือในการตอบดี แต่งกายเรียบร้อย 

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

ับันทึกการเรียนวันพุธที่ 27 มกราคม 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3 

Knowledge : ความรู้

*** ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษมี 2 กลุ่มใหญ่ คือ 

   1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง ได้แก่  เด็กปัญญาเลิศ (Gifted child) 

       เด็กปัญญาเลิศจะมีลักษณะที่แตกต่างจากเด็กฉลาด

       ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ

      - พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

      - เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

      - อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม

      - มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก

      - จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ

      - มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย

      - มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลก ๆ

      - เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต

      - มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน

      - ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน

    2.  กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่องมีทั้งหมด 9 ประเภท

         2.1 เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา

         2.2 เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน

         2.3 เด็กที่บกพร่องทางการเห็น

         2.4 เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

         2.5 เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา

         2.6 เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

         2.7 เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้

         2.8 เด็กออทิสติก

         2.9 เด็กพิการซ้อน

แต่คาบเรียนวันนี้เรียน 3 ประเภท

*** เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา คือ เด็กปัญญาอ่อน และเด็กดาวน์ซินโดรม

เด็กปัญญาอ่อน แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม

1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ  ต่ำกว่า 20

2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 (C.M.R) ไม่สามารถปล่อยได้

3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49 (T.M.R) สามารถฝึกได้

4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 (E.M.R) สามารถเข้าโรงเรียนได้ 


เด็กดาวน์ซินโดรม 

อาการของดาวน์ซินโดรม

- ศรีษะเล็กแบน คอสั้น

- หน้าแบน ดั้งจมูกแบน

- ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก

- ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ

- เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต

- ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ

- มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น

- เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ

- ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง

- มีความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย

- บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง

- อารมณ์ดี เลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร

- มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด

- อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งชายและหญิง





"เคนนี่"  เสือขาว เป็นดาวน์ซินโดรม




*** เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก

เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง

1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 db

2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 db

3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70db

4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 db


เด็กหูหนวก  คือ เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูด

จากการได้ยิน และไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้ ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้

ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 db ขึ้นไป

*** เด็กที่บกพร่องทางมองเห็น คือ เด็กตาบอด และเด็กตาบอดไม่สนิท

เด็กตาบอด คือ เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่น

ในการเรียนรู้ มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท

และมีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา



เด็กตาบอดไม่สนิท คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับ

เด็กปกติ เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18,20/60,20/200 หรือน้อยกว่านั้น

มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา

Photos : รูปภาพ

                                                           [บรรยากาศในห้องเรียน]



Apply : การนำไปใช้

-  สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปสังเกตดูพฤติกรรมเด็กในห้องเรียน

-  นำมาเป็นแนวทางในการสังเกตพฤติกรรม

-  ได้รู้ถึงสาเหตุของการเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

-  ได้รู้ถึงแนวทางการปฏิบัติต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

มีการเตรียมตัวในการสอน  มียกตัวอย่างในการอธิบายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น


ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

ให้ความร่วมมือในการตอบดี แต่งกายเรียบร้อย 

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย