วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้วันพฤหัสบดี ที่ 28 เมษายน 2559 (เรียนชดเชย)

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

Knowledge : ความรู้ที่ได้รับ

*** โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล

แผน IEP  คือ
  •  แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้
เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเรา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อต่อการเรียนรู้

ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

 การเขียนแผน IEP 

1. คัดแยกเด็กพิเศษ

2. ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร

3. ประเมินพัฒนากการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน

    ในทักษะใด

4. เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้

5. แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย

1. ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก

2. ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง

3. การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน

4. เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น

5. ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน

6. วิธีการประเมิน



-  ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน

-  ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน

-  ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

-  ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉย ๆ


- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถ และความต้องการของเด็ก

- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก

- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป

- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาความก้าวหน้าของเด็ก

- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ


- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้พัฒนา

   ความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ

- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร

- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่าง

  บ้านกับโรงเรียน

การจัดทำ IEP



ตัวอย่างแผน IEP


กิจกรรมวันนี้

ให้นักศึกษาวาดรูประบายสีวงกลมตามใจชอบจากจุดเล็ก ไปใหญ่




จากนั้นให้นำไปติดที่ต้นไม้ตามความชอบ



สรุปกิจกรรมการวาดวงกลม คือ การทายนิสัยจากการใช้สีในการระบาย



  "ปิดคลอส"

แจกรางวัลเด็กดี

Apply : การนำไปใช้

- สามารถนำแผน IEP ไปใช้ในอนาคต ตามที่อาจารย์สอน

- สามารถนำกิจกรรมไปใช้ในการเรียนการสอนได้

- สามารถนำกิจกรรมเด็กดีไปใช้ในอนาคตได้เช่นกัน เพื่อให้คนทำดีมีกำลังใจต่อไป

Evaluation : การประเมิน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์แต่งกายสุภาพ ให้ความรู้อย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย


บันทึกการเรียนรู้วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8 


**** ขาดเรียน****

บันทึกการเรียนวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

Knowledge : ความรู้ที่ได้รับ

***  การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

รูปแบบการจัดการศึกษา
  • การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
  • การศึกษาพิเศษ (Special Education)
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
  • การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
ความหมายการศึกษาแบบเรียนร่วม

1. การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป

2. มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน

3. ใช้เวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน

4. ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม

1. การศึกษาสำหรับทุกคน

2. รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา

3. จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

ปรัชญาการอยู่รวมกัน

Wilson , 2007

- การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก

- การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน

- กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบครอบ

เพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้

- เป็นการกำหนดทางเลือกหลาย ๆ ทาง


สิ่งที่ครูไม่ควรทำ

1. ครูไม่ควรวินิจฉัย

2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

สิ่งที่ครูควรทำ

1. ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่าง ๆ 

2. ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย

3. สังเกตเด็กอย่างมีระบบ

4. จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วง ๆ 

กิจกรรมวันนี้

ให้นักศึกษาวาดรูปดอกบัวที่เห็นในภาพให้ละเอียดที่สุด พร้อมเขียนคำบรรยาย


สรุปของกิจกรรมการวาดดอกบัว คือ เป็นการสื่อให้เห็นว่าเรามองเด็กอย่างไร ?

Apply : การนำไปใช้

- สามารถนำกิจกรรมวันนี้ย้อนกลับมามองตัวเองว่าเราสามารถมองเด็กพิเศษให้เหมือนเด็ก

   ปกติได้หรือยัง

- ทำให้รู้ว่าการเรียนรวม กับการเรียนร่วมแตกต่างกันอย่างไร

Evaluation : การประเมิน

การประเมินอาจารย์ผู้สอน

แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา ให้ความรู้อย่างเต็มที่ และมีกิจกรรมให้ทำ

การประเมินเพื่อนร่วมชั้นเรียน

ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อย ให้ความร่วมมือกันในห้องดี

การประเมินตนเอง

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและให้ความร่วมมือทำกิจกรรมในห้องเป็นอย่างดี